วิทยานิพนธ์ พระมหาศรพนา บทที่ 4

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 220 คน ได้รับแบบสอบถามคืนครบ จำนวน 220 ฉบับ สำหรับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้แบ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม  
ตอนที่ 2   ผลการวิเคราะห์การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
ตอนที่ 3   ผลการวิเคราะห์การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน
ตอนที่ 4   ผลการวิเคราะห์ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
ตอนที่ 5   ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ  
โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
ข้อมูลทั่วไป
จำนวน
ร้อยละ
1.  เพศ


                        ชาย
111
50.50
                        หญิง
109
49.50
รวม
220
100.00
2.  อายุ


                        10  ปี
                        11  ปี
                        12  ปี
                        13  ปีขึ้นไป
44
98
66
12
20.00
44.50
30.00
5.50
รวม
220
100.00
3.  ระดับชั้นที่เรียน
                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

117
103

53.20
46.80
รวม
220
100.00
รวม
220
100.00
 สำหรับประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในแต่ละด้าน อยู่ในระดับมาก ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ (1) ประโยชน์ต่อการเรียนนักเรียนสามารถทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา (  = 4.16, S.D. = 1.03) (2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่าง ๆ ได้ (  = 4.17, S.D. = 1.05) และ (3) การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ (  = 3.95, S.D. = 1.13)
  ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ 
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีดังนี้
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 220 คน มีนักเรียนที่ให้ข้อเสนอแนะทั้งหมด 123 คน คิดเป็นร้อยละ 55.90 และนักเรียนที่ไม่ให้ข้อเสนอแนะเป็นจำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1 จำแนกข้อเสนอแนะได้ดังนี้
5.1  ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมีความเห็นว่า เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียนไม่ยากเกินไป ทั้งด้านการจัดรูปเล่ม ขนาดของเล่ม การจัดตัวอักษร และมีสีสันที่สวยงาม จำนวน 53 คน
5.2  ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับการเรียนในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน นักเรียนมีความเห็นว่า นักเรียนใช้ประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียน และใช้เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม จำนวน 33 คน
5.3  ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมีความเห็นว่า นักเรียนได้มีความรู้ในเรื่องพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จำนวน 24 คน
5.4  ข้อเสนอแนะ ในด้านอื่นๆ นักเรียน มีความเห็นว่า อยากให้มีการสอนแบบนี้ไปนานๆ เพราะการเรียนรู้ธรรมช่วยให้เราไม่ทำความชั่ว จำนวน 13 คน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น