วิทยานิพนธ์ พระมหาศรพนา บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย โดยมี
การกำหนดรายละเอียดในส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้  

1.  ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 220 คน

2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิม
พระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 มีขั้นตอนในการสอบถาม ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดขอบข่ายเนื้อหาที่จะสอบถาม ประกอบด้วย ความคิดเห็นที่มีต่อ (1) การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา (2) การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน และ (3) ประโยชน์การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา  
ขั้นที่ 2 ศึกษาค้นคว้า จากเอกสารและตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบถามและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ การใช้หนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
ขั้นที่ 3 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามแบบชนิดเลือกตอบ (2 แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ และ(3) แบบสอบถามแบบเขียนตอบ สำหรับแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีระดับคะแนนแบบสอบถาม ดังนี้
              ระดับคะแนน                                 แปลความหมาย
                        5                                  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ     มากที่สุด
                        4                                  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ     มาก
                        3                                  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ     ปานกลาง
                        2                                  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ     น้อย
                        1                                  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ     น้อยที่สุด
ขั้นที่ 4 สร้างแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ มี 5 ตอน ประกอบด้วย 
              ตอนที่ 1   สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 ข้อ      
              ตอนที่ 2   การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำนวน 53 ข้อ
              ตอนที่ 3   การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำนวน 22 ข้อ
              ตอนที่ 4   ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำนวน 7 ข้อ และ
              ตอนที่ 5   ข้อแสนอแนะ 1 ข้อ
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถาม ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบประกอบด้วย (1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา จำนวน 1 คน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 1 คน และ
(
3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 1 คน (รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิแสดงในภาคผนวก ก) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเกี่ยวกับเนื้อหา ครอบคลุม ข้อคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความชัดเจน ใช้ภาษาเข้าใจง่าย สั้นกะทัดรัด สัมพันธ์กับหัวข้อ และมีปริมาณเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามด้วยแบบประเมิน ผลการประเมินคุณภาพของแบบสอบถามอยู่ในระดับ ดี และมีข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิให้ปรับปรุงในขั้นที่ 6
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
              6.1  ปรับข้อคำถามให้มีความชัดเจน และไม่กำกวม
              6.2  จัดหมวดหมู่ข้อคำถาม เพื่อให้เข้าใจง่ายในการตอบแบบสอบถาม
ขั้นที่ 7 ทดลองใช้แบบสอบถาม โดยนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนวัดพุฒิปรางค์ปราโมทย์ในช่วงวันที่ 17-24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 50 คน ผลการทดลองใช้พบว่า นักเรียน มีความเข้าใจภาษาที่ใช้และเข้าใจข้อคำถามแต่ละข้อได้เป็นอย่างดี 
ขั้นที่ 8 จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ หลังจากปรับปรุงแบบสอบถามตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะนำแล้ว จึงดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำมาใช้ แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ มีรายละเอียด ดังนี้
              แบบสอบถามสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานนทบุรี เขต 1 มีรายละเอียด ดังนี้
              ตอนที่ 1   ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ และกำลังเรียนอยู่ชั้น จำนวน 3 ข้อ
              ตอนที่ 2   การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน ประกอบด้วย
                                2.1  การใช้ส่วนนำของหนังสือเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 16 ข้อ
                                2.2  การใช้เนื้อหาสาระของหนังสือเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 18 ข้อ
                                2.3  การใช้กิจกรรมของหนังสือเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 6 ข้อ
                                2.4  การใช้ส่วนท้ายของหนังสือเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 6 ข้อ
                                2.5  การใช้เทคนิคของหนังสือเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 7 ข้อ
              ตอนที่ 3   การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ประกอบด้วย
                                3.1  การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 13 ข้อ
                                3.2  การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนานอกชั่วโมงเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 9 ข้อ
              ตอนที่ 4   ประโยชน์การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน มีคำถามย่อยจำนวน 7 ข้อ
              ตอนที่ 5   ข้อแสนอแนะ จำนวน 1 ข้อ



3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1  ติดต่อขอหนังสือจากสำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เพื่อขอความอนุเคราะห์ นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูล
3.2  การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามและรับแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติจำนวน 220 ชุด เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
3.3  จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พบว่า แบบสอบถามสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติส่งไปจำนวน 220 ชุด ได้รับคืน 220 ชุด มีความสมบูรณ์ทุกชุด คิดเป็นร้อยละ 100

4.  การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กระทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถาม โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตร ดังนี้
4.1  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละใช้สูตร ดังนี้

สูตรค่าร้อยละ
=
จำนวนผู้ตอบ  Í  100


จำนวนคนตอบทั้งหมด

4.2  วิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบ
การเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 โดยใช้สูตรค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้
        4.2.1  สูตรค่าเฉลี่ย

     =    
                    เมื่อกำหนดให้                คือ   คะแนนเฉลี่ย
                                                        คือ   ผลรวมทั้งหมดของคะแนน
                                                     N           คือ   จำนวนผู้ตอบแต่ละข้อคำถาม
       
                    เกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตามแนวของ จอห์น ดับบลิว เบสท์ และเจมส์ วี คาห์น (John W.Best and James V.Kahn 1986: 181-182) ใช้เกณฑ์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย
ความหมาย
4.50 – 5.00
มีความคิดเห็นมากที่สุด
3.50 – 4.49
มีความคิดเห็นมาก
2.50 – 3.49
มีความคิดเห็นปานกลาง
1.50 – 2.49
มีความคิดเห็นน้อย
1.00 – 1.49
มีความคิดเห็นน้อยที่สุด
        4.2.2  สูตรส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation - S.D.) ปีเตอร์ ลาฟเฟอร์รี่ และ จูเลียน  โรว์ (Lafferty, Petter and Rowe, Julain, 1995: 561-562) ในการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับปัญหาที่จัดหมวดหมู่ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

S.D.     =     

                    เมื่อกำหนดให้      S.D.   คือ      ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                                                    x          คือ      ระดับคะแนน
                                                          คือ      คะแนนเฉลี่ย 
                                                    f          คือ      ความถี่ของระดับคะแนน 

                                                    n          คือ      จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น