วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิทยานิพนธ์ พระมหาศรพนา บทที่ 1

การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน
วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียน
วัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1









พระมหาศรพนา  ลาคำ









การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2555
The Use of Textbooks as Printed Learning Media in the Buddhism Course for
Students at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary
Education Sevice Area 1









Phramaha Sonpana  Lakam








An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for
the Degree of Master of Education in Educational Technology and Communications
School of Educational Studies
Sukhothai Thammathirat Open University
2012



ชื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ          การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
ผู้ศึกษา พระมหาศรพนา  ลาคำ  รหัสนักศึกษา 2532700511  ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. วาสนา  ทวีกุลทรัพย์  ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
                  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 220 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ที่โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  ผลการวิจัย พบว่า การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ คือ (1) การใช้เนื้อหาสาระและเทคนิคด้านส่วนนำแผนผังแนวคิดช่วยให้นักเรียนทราบถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องศึกษา ภาษาที่ใช้ช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย กิจกรรมนำสู่การเรียนช่วยให้นักเรียนปรับพื้นฐานความรู้ของนักเรียน ส่วนท้าย คือ หน้าประกาศช่วยให้นักเรียนทราบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์และเทคนิค และกระดาษที่ใช้มีความคงทนถาวรต่อการหยิบใช้ของนักเรียน (2) การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนในชั่วโมงเรียนช่วยให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ระหว่างเรียนนักเรียนใช้ประกอบกิจกรรมที่เรียน หลังเรียนใช้อ่านทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา (3) การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนนอกชั่วโมงเรียน นักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้เสริมจากที่เรียนในห้องเรียน จะใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อเสริมช่วยในการทำการบ้าน และใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหา และ (4) ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน ทำให้นักเรียนสามารถทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ได้จากหนังสือเรียน คือ นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
คำสำคัญ           สื่อสิ่งพิมพ์  หนังสือเรียน  รายวิชาพระพุทธศาสนา  นักเรียนประถมศึกษา
Independent Study title:              The Use of Textbooks as Printed Learning Media in the
                                             Buddhism Course for Students at Wat Chalerm Phra Kiat
                                             School in Nonthaburi Primary Education Sevice Area 1  
Author: Phramaha Sornphana  Lakham; ID:2532700511;
Degree: Mater of Education (Educational Technology and Communications);
Independent Study advisor: Dr. Wasana Taweekulasap, Associate Professor;
Academic year: 2012


Abstract

                  The purpose of this research was to study the use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course for students at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary Education Service Area 1.
                  The research population comprised 220 Prathom Suksa V – VI students studying in the first semester of the 2012 academic year at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary Education Service Area 1. The employed research instrument was a questionnaire on opinions toward the use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course. Statistics employed for data analysis were the percentage, mean, and standard deviation.
                  Research findings showed that the overall use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course was at the high level.  When individual aspects of the use were considered, it was found to be at the high level in all aspects the details of which were as follows: (1) the use of textbook contents and concept mapping as the introductory technique helped the students to know the whole content they have to study; the textbook language was easy for the students to understand; activities for learning helped the student to adjust their knowledge background; the announcement page helped the students to know details on publication and technique; and the textbook paper was durable and convenient for the students to use; (2) the use of textbooks for learning in the classroom sessions helped the students to be interested in their learning and helped them to undertake their learning activities; after learning the students used textbooks for reviewing what they had recently learned; (3) in the use of textbooks for learning outside of the classroom, the students used them for learning more knowledge in addition to what they had learned in the classroom; they used them as the supplementary media in doing their homework and as reference sources for knowledge contents; and (4) the benefits of using textbooks were that the students could review their knowledge by themselves all the time; and the desirable characteristics they gained from using textbooks were that they were able to develop their critical thinking and to apply the obtained knowledge in solving their problems.






Keywords:        Printed learning media, Textbook, Buddhism Course,
                     Prathom Suksa student
กิตติกรรมประกาศ

              การศึกษาวิจัยค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก
รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  ทวีกุลทรัพย์ อาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม และให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ด้วยดีมาโดยตลอด จนกระทั่งเสร็จอย่างสมบูรณ์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งใจในความกรุณาของท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอเจริญพรขอบคุณอย่างสูงและขออนุโมทนา มา ณ โอกาสนี้
              ขอเจริญพรขอบคุณ รองศาสตราจารย์ นวลเสน่ห์ เชิดชูธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการประเมินผล รองศาสตราจารย์สาธิต  วิมลคุณารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษา และอาจารย์ ดร.ศันสนีย์  สังสรรค์อนันต์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา ที่เสียสละเวลาตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้คำแนะนำจนทำให้การวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และคณาจารย์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้และประสบการณ์ตลอดระยะเวลาการศึกษา
              ขอกราบขอบพระคุณ พระธรรมกิตติมุนี เจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี พระอธิการประหยัด สุจิณฺโน เจ้าอาวาสวัดบ้านติมรัตนาราม จังหวัดศรีสะเกษ พระเถรานุเถระ และเพื่อนสหธัมมิก ที่ได้เมตตาให้กำลังใจในการศึกษาด้วยดี
              ขอเจริญพร ขอบคุณท่านผู้อำนวยการสถานศึกษา คณาจารย์ โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ ที่ให้กำลังใจและให้คำปรึกษาด้วยดี และขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5-6 ปีการศึกษา 2555 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี  
              ขอแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณแด่ โยมพ่ออุดร โยมแม่สุเทียน ลาคำ และขอบใจ น้องๆ ทุกคนที่คอยห่วงใย ให้กำลังใจ และให้ความสนับสนุนด้วยดีจนสำเร็จการศึกษา
              ขอกราบขอบพระคุณ/เจริญพรขอบคุณ เพื่อนๆ นักศึกษาปริญญาโท แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านและเป็นกำลังใจด้วยดีเสมอมา จนสำเร็จการศึกษา
              สุดท้ายนี้ คุณค่าและประโชน์อันเกิดจากการวิจัยค้นคว้าอิสระฉบับนี้ ผู้วิจัยขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทุกผู้ ทุกตัวตน ขอให้ได้รับส่วนกุศลนี้ ได้อนุโมทนา และอโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย เทอญ
                                                                   พระมหาศรพนา  ลาคำ
                                                                   กรกฎาคม  2556

บทที่  1
บทนำ


1.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

1.1       สภาพที่พึงประสงค์ ในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน
     กรมวิชาการ (2544: 2-8) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนเป็นสื่อที่มีการผลิตมาแต่สมัยโบราณ กระบวนการผลิตจึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งคนทั่วไปก็นิยมใช้เป็นแหล่งความรู้อย่างกว้างขวาง จึงได้รับการผลิตออกมาปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ในด้านการเรียนการสอนนับได้ว่าเป็นสื่อที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ในบรรดาสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนเป็นพื้นฐานที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่เก่าแก่และมีความสำคัญมากมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน แม้ปัจจุบัน สื่อการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นมากมาย แต่บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนก็มิได้ถดถอยลง โรงเรียนยังอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ของหลักสูตร สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนเป็นแหล่งความรู้ ที่ยอมรับกันว่าสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนช่วยเพิ่มพูนความรู้  ความคิด และประสบการณ์ให้กว้างขวางขึ้น เป็นเสมือนคลังแห่งความรู้ ความคิด และวิทยาการทุกด้านของมนุษย์  โดยมนุษย์พยายามจะบันทึกรักษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร เมื่อสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนแพร่ไปถึงที่ใดความรู้ ความคิด และวิทยาการก็จะแพร่กระจายไปถึงที่นั่น จึงเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งที่ทำให้มนุษย์พัฒนาปัญญาของตน แม้ในโลกปัจจุบันจะมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวาง แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนยังเป็นสื่อพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว  ที่เอื้ออำนวยในการสื่อสารไปยังนักเรียนเป็นจำนวนมาก มีการยืดหยุ่นหมุนเวียนสามารถหยิบยืมกันใช้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เก็บรักษาได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ทั้งนี้ สมพร  จารุนัฎ (2534: 40-43) ได้กล่าวถึง บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนว่า มี 5 บทบาท คือ (1) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจและเกิดความคิด จากการอ่านโดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ช่วยกำหนดให้เป็นไปตามขั้นตอนทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับจนเกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด  และทักษะที่แน่ชัด (2) เป็นเครื่องนำฐานะเป็นผู้ชี้นำ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนที่ดีควรให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้ ความคิด ทักษะเจตคติ รวมทั้งความสามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และให้แนวทางแก่ผู้อื่นในการศึกษาหาความรู้ พัฒนาความคิด และการนำความรู้ไปใช้ให้ได้ประโยชน์ด้วย (3) เป็นแหล่งประมวลความรู้  สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนที่ดีจึงต้องมีลักษณะที่เป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อผู้เรียนซึ่งอาจหาไม่ได้จากหนังสือประเภทอื่นๆ ครูอาจ จะต้องเอาใจใส่พิเศษเกี่ยวกับการเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน (4) เป็นทางนำไปสู่ความหมายของความจริง การศึกษาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบหลายอย่าง ตั้งแต่ตัวผู้เขียน ความมุ่งหมายของผู้เขียน
ตัวผู้อ่าน ความมุ่งหมายในการอ่าน และสภาพแวดล้อมต่างๆ มิฉะนั้นแล้ว นักเรียนอาจไม่เกิดการเรียนรู้ตามที่ควรจะเป็นก็ได้ และ (
5) เป็นแรงกระตุ้นและแรงบัลดาลใจ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน อาจทำให้น่าสนใจได้ด้วยการสร้างคุณสมบัติทั้งภายในและภายนอกให้ดึงดูดความสนใจตั้งแต่รูปร่างหน้าตา ตัวหนังสือ สีสัน ภาพประกอบ เรื่อยไปจนถึงการนำเสนอเนื้อหา การตั้งชื่อบท ตอน หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย คำถาม กิจกรรม เป็นต้น
     นอกจากนี้ อมรา  เล็กเริงสินธุ์ (2540: 153) ที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนไว้ว่า (1) เป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมเนื้อหาในการเรียนการสอน ไว้ตามลำดับขั้นตอนตามหลักสูตร ทำให้สะดวกในการสอนช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ครบตามความมุ่งหมายของหลักสูตร (2) เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นักเรียนจะใช้ศึกษาเป็นรายบุคคลได้ดี เพราะนักเรียนเรียนได้ตามกำลังความสามารถและช่วยให้ครูมอบหมายงานให้นักเรียนได้ตามความสามารถ (3) เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และแนวทางในการให้เกิดการค้นคว้าทดลอง (4) เป็นสื่อการเรียนการสอนที่กะทัดรัด ช่วยสรุปและให้คำตอบในการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีขอบเขตในวงการนั้นๆ และเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียนในชั้นนั้นๆ และ
(
5) เป็นพื้นฐานสำคัญก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่นักวิชาการที่จะสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนอื่นๆ ตามมา ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนที่ดีจึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาตามหลักสูตรและลำดับชั้น
1.2       สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน
     สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียน โดยดำเนินการให้สอดคล้องตามกรอบของครบตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกประการส่งเสริมกระบวนการคิด การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา  ความสามารถในการสื่อสาร การติดสินใจ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม ประกอบด้วย 6 หน่วย ในแต่ละหน่วยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ ซึ่งประกอบด้วย (1) เป้าหมายการเรียนรู้ประจำหน่วย  กำหนดระดับความรู้ ความสามารถของนักเรียนว่าเมื่อเรียนจบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ต้องบรรลุมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรข้อใดบ้าง (2) แนวคิดสำคัญ แก่นความรู้ที่เป็นความรู้ความเข้าใจคงทนติดตัวนักเรียน (3) เนื้อหา  ครบตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้งนำเสนอเหมาะสมกับการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้น (4) กิจกรรม  มีหลากหลายรูปแบบให้นักเรียนปฏิบัติ แบ่งเป็น (4.1) กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน นำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจแก่นักเรียน (4.2) กิจกรรมรวบยอด ให้นักเรียนปฏิบัติเพื่อแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัดประจำหน่วย วิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่จะได้ศึกษาประวัติความเป็นมา  หลักธรรมคำสั่งสอน และแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตน ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่ชนรุ่นหลัง ทั้งยังเป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีระเบียบวินัย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีคุณธรรม จริยธรรม ปัจจุบันสถาบันการศึกษาได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับวิชาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอน (จงจรัส  แจ่มจันทร์ และคณะ 2551: คำนำ) 
     สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่โรงเรียนวัดเฉลิมพระ-เกียรติใช้ประกอบการเรียนการสอนนั้น ได้รับงบประมาณสนับสนุนตามโครงการเรียนฟรี 15ปี จากกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดซื้อตามมติที่ประชุม พิจารณาร่วมกันคัดเลือกให้เหมาะสมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีขนาด 8 หน้ายก ระบบพิมพ์ 4 สี ขนาดตัวอักษร 20 พ้อยท์ จำนวน 138 หน้า เมื่อแจกให้นักเรียนแล้ว ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของนักเรียนเลย  ไม่ต้องคืนทางโรงเรียนอีก โดยมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพระภิกษุที่เป็นครูพระสอนศีลธรรม สังกัดมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้สอนโดยแบ่งความรับผิดชอบ สอนชั้นละ
1 รูป รวมทั้งหมด 4 รูป ซึ่งกำหนดให้ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ประกอบการเรียนการสอนและสามารถนำสื่อการเรียนการสอนมาสอนเสริมได้ตามความเหมาะสม   
1.3       สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน
     การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1  นั้น ไม่มีรูปแบบการใช้ที่แน่นอน นักเรียนจะใช้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้บอกให้ใช้ เป็นส่วนมาก  ส่งผลให้ผลการเรียนของนักเรียนไม่เท่ากัน
     จากการสอบถามครูผู้สอน พบว่า นักเรียนส่วนมากยังขาดความกระตือรือร้นในการอ่านหนังสือเรียน หากมีเวลาว่างก็จะนำหนังสือการ์ตูน นวนิยาย ฯ มาอ่าน ส่งผลทำให้การเรียนของนักเรียนไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องคอยให้การแนะนำและกำหนดกิจกรรมให้นักเรียนใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนให้มากที่สุดทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน เช่น ให้ทำกิจกรรมท้ายบท ให้การบ้าน เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการนำสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าอย่างสูงสุดสอดคล้องกับ ทิพย์เกสร  บุญอำไพ (2549: 19) ที่กล่าวว่า หากครูคอยชี้แนะข้อดีและข้อเสียของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนจะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนมาอ่านได้
1.4       ความพยายามในการแก้ไขปัญหา ในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน
     จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบ การวิจัยเชิงทดลองของ ธนิต  ทองหล่อ (2550)ได้ทำการศึกษาเรื่อง รายงานผลการใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า (1) ประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.79/87.18 ซึ่งเป็นไปได้ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
     จากการศึกษา พบว่า การใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องศาสนา นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เพราะสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศาสนา มีประสิทธิภาพและช่วยให้นักเรียนมีผลการเรียนสูงขึ้น 
1.5       แนวทางที่ผู้วิจัยจะดำเนินการแก้ไขปัญหาในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน
     จากความพยายามในการแก้ปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษา การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ขึ้นมาเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนในด้าน 1) การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา (2) การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน และ (3) ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อหาแนวทางในการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่มีประสิทธิภาพ
2.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1       วัตถุประสงค์ทั่วไป
     เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
2.2       วัตถุประสงค์เฉพาะ
     2.2.1  เพื่อศึกษาการใช้เนื้อหาและเทคนิคของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
     2.2.2  เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา ในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน
     2.2.3  เพื่อศึกษาประโยชน์จากการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน ประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา

3.  ขอบเขตของการวิจัย

3.1       รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
3.2       ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 220 คน 
3.3       ขอบข่ายเนื้อหาสาระการวิจัย ครอบคลุม การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา (2) การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน และ (3) ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
3.4       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
3.5       ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2555 - กรกฎาคม 2556

4.  นิยามศัพท์เฉพาะ

4.1       สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอนซึ่งมีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีหลักฐานทางวิชาการที่มั่นคง แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนกิจกรรม และส่วนท้าย
4.2       หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่ทางโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติได้คัดเลือกเพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ซึ่งมีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4.3       การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา หมายถึง การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในส่วนเนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด
4.4       การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา หมายถึง การใช้ส่วนเนื้อหา ครอบคลุม ส่วนนำ ประกอบด้วย การใช้ปก คำนำ คำชี้แจงในการใช้ แผนผังความคิด สารบัญ การเรียนรู้และตัวชี้วัด เป้าหมายการเรียนรู้ และแนวคิดสำคัญ ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย การใช้การวางโครงเรื่อง เนื้อหา ภาษา ตัวอักษรและภาพประกอบ ส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมสำหรับการนำเข้าสู่การเรียน การใช้สำหรับการเรียนโดยตรงระหว่างเรียน และการใช้สำหรับการเรียนโดยตรงหลังเรียน และส่วนท้าย ประกอบด้วย การใช้การอ้างอิง คำสำคัญ และหน้าประกาศ และการใช้เทคนิค ประกอบด้วย การใช้รูปเล่ม การออกแบบ และกระดาษ   เพื่อให้เกิดประโยชน์และให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างสูงสุด
4.5       การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน หมายถึง การนำหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาไปใช้ประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียน ครอบคลุม การใช้สำหรับการเรียนโดยตรง การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้ระหว่างเรียน และการใช้หลังเรียน และการใช้ประกอบการเรียนนอกชั่วโมงเรียน ครอบคลุม การใช้สำหรับความรู้ทั่วไป การใช้เป็นสื่อเสริมเพื่อการศึกษา และการใช้สำหรับการค้นคว้าอ้างอิง เพื่อให้เกิดประโยชน์และให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างสูงสุด

4.6       ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน หมายถึง คุณค่าที่นักเรียนได้รับจากการใช้ช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปศึกษาได้ด้วยตนเองและสามารถทบทวนได้ตลอดเวลา มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการช่วยให้นักเรียนเพิ่มพูนความสามารถของคนเอง สามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ และเป็นคติสอนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.7       นักเรียน หมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2555

5.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ต่อไป

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภาพบรรยายกาศบริเวณวัดสพานสูง




































อาปานสติ

อาปานสติ

อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมาก
อานาปานสติ (อานะ หายใจออก - ปานะ หายใจเข้า - สะติ ความระลึก ) มีอยู่ 16 คู่ คือ

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]

ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[1]
2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่)
3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา)
4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์)

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]

ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ
5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์)
6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ)
7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง)
8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]

ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)เท่าทันในกิจแห่งจิต ว่าจิตเป็นไฉน)
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง (ไม่เบื่อหน่ายเพราะจิตเท่าทันจิต มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีปราโมทย์ในองค์ภาวนา)
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ )
12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี ราคะ โทสะ โมหะเป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]

ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)
15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)
16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)
ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒]
อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน
  • ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์)
  • ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้

อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า
  • ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์
  • ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
  • ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร)
  • ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์
  • ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร)

อ้างอิง[แก้]

  • สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
  • สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
  • สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย
  • อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก.
  • มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
  • สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต
  • อวิชชาสูตร ๑๙/๑
  • คิริมานนทสูตร
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
  • อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ.
  • มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
  • ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  • มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑]
  • ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260
  • คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34)
  • วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
  • อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค
  • พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196

ดูเพิ่ม[แก้]

สื่อ[แก้]

MENU
0:00
เสียงพระสวดมนต์แปลบาลี-ไทย (อานาปานสติ)

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้นี้ โปรดดูเพิ่มเติมที่หน้าช่วยเหลือด้านสื่อ
Audio File เสียงธรรมบรรยาย"อานาปานสติ" จากท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งได้มีการแบ่งไฟล์ให้เข้าใจในอานาปนสติระดับต่างๆhttp://www.archive.org/details/PT_ANa

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Mindfulness with Breathing by Buddhadāsa Bhikkhu. Wisdom Publications, Boston, 1996. ISBN 0-86171-111-4.
  • Breath by Breath by Larry Rosenberg. Shambhala Classics, Boston, 1998. ISBN 1-59030-136-6.
  • Tranquillity and Insight by Amadeo Sole-Leris. Shambhala, 1986. ISBN 0-87773-385-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. กระโดดขึ้น พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๓๘๔]

สมถกัมมัฏฐาน

สมถกรรมฐาน คือกรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ได้แก่การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สมาธิเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญาและ มุ่งให้จิตสงบ ระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดีเป็นสำคัญ

สมถกรรมฐานเป็นอุบายวิธีที่หยุดความฟุ้งซ่านแห่งจิตซึ่งมักจะฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ หยุดความคิดของจิตไว้ โดยใช้สมาธิยึดดึงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน40กองมาบริกรรมจนกระทั่งจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้น และสงบระงับไม่ฟุ้งซ่านต่อไป
สมถกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่มุ่งบริหารจิตเป็นหลัก คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน ที่มุ่งการอบรมปัญญาเป็นหลัก

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง
วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.
อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.
ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.
ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.
การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ
  1. อุคคหะ การเรียนพระธรรม
  2. ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
  3. ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
  4. วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
  5. มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
  6. ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้
พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

เนื้อหา

ผลของการปฏิบัติวิปัสสนา[แก้]

การเจริญวิปัสสนาตามแนวทางของสติปัฏฐานซึ่งเป็นแนวทางเดียวเท่านั้นที่สามารถจะชำระจิตของผู้ปฏิบัตืให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นำพาผู้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ และบรรลุถึงพระนิพพานได้ ผูปฏิบัติจะต้องชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์เป็นเบื้องต้นด้วยการสมาทานและรักษาศีล ตามความสามารถของตน
เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้วก็จะเกิดอารมณ์กรรมฐานได้ง่าย จิตเป็นสมาธิได้ง่าย ซึ่งผลของการปฏิบัติ มีดังนี้
  1. นามรูปปริจเฉทญาณ
  2. ปัจจัยปริคคหญาณ
  3. สัมมสญาณ
  4. อุทยัพพยญาณ
  5. ภังคญาณ
  6. ภยญาณ
  7. อาทีนวญาณ
  8. นิพพิทาญาณ
  9. มุญจิตุกัมยตาญาณ
  10. ปฏิสังขาญาณ
  11. สังขารุเปกขาญาณ
  12. อนุโลมญาณ
  13. โคตรภูญาณ
  14. มัคคญาณ
  15. ผลญาณ
  16. ปัจจเวกขณญาณ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สติปัฏฐาน 4

หน้าแรก


วิชาสมถะกัมมัฏฐาน
สติปัฏฐาน 4สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่



กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

มติอาจารย์บางพวก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณารูปขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุภวิปลาส (สำคัญความไม่งามว่างาม) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
คำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร. จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ท่านกล่าวสมถะยานิกไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในฐานะที่เหมาะกับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ. แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับสติปัฏฐานสูตร

นอกจากนี้ อาจารย์เหล่านั้นยังกล่าวว่า .-
"โดยที่อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริตทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสมถะยานิก และวิปัสสนายานิก" ดังนี้
ข้อนั้นไม่สมกับพระไตรปิฎก เพราะท่านกล่าวไว้ว่า อานาปานสติเป็นกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ในอรรถกถากล่าวว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน เหมาะกับ ตัณหาจริต สมถยานิก, และในวิสุทธิมรรค ท่านก็กล่าวความที่อานาปานสติเหมาะแก่โมหจริตไว้ในสมาธินิทเทส ซึ่งหนังสือพุทธธรรมก็ได้อ้างถึงไว้ด้วย
อนึ่ง ความหมายนี้ในพระไตรปิฎกใช้เพียงคำว่า สติปัฏฐาน เท่านั้น ส่วนคำว่า มหาสติปัฏฐาน นั้นมีใช้เป็นชื่อพระสูตรเท่านั้น ไม่มีใช้ในความหมายนี้โดยตรง

อ้างอิง


  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52

ดูเพิ่ม



สติปัฏฐานสูตร