วิทยานิพนธ์ พระมหาศรพนา บทที่ 1

การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน
วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียน
วัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1









พระมหาศรพนา  ลาคำ









การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2555
The Use of Textbooks as Printed Learning Media in the Buddhism Course for
Students at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary
Education Sevice Area 1









Phramaha Sonpana  Lakam








An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for
the Degree of Master of Education in Educational Technology and Communications
School of Educational Studies
Sukhothai Thammathirat Open University
2012



ชื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ          การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
ผู้ศึกษา พระมหาศรพนา  ลาคำ  รหัสนักศึกษา 2532700511  ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. วาสนา  ทวีกุลทรัพย์  ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
                  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 220 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ที่โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  ผลการวิจัย พบว่า การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ คือ (1) การใช้เนื้อหาสาระและเทคนิคด้านส่วนนำแผนผังแนวคิดช่วยให้นักเรียนทราบถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องศึกษา ภาษาที่ใช้ช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย กิจกรรมนำสู่การเรียนช่วยให้นักเรียนปรับพื้นฐานความรู้ของนักเรียน ส่วนท้าย คือ หน้าประกาศช่วยให้นักเรียนทราบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์และเทคนิค และกระดาษที่ใช้มีความคงทนถาวรต่อการหยิบใช้ของนักเรียน (2) การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนในชั่วโมงเรียนช่วยให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ระหว่างเรียนนักเรียนใช้ประกอบกิจกรรมที่เรียน หลังเรียนใช้อ่านทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา (3) การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนนอกชั่วโมงเรียน นักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้เสริมจากที่เรียนในห้องเรียน จะใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อเสริมช่วยในการทำการบ้าน และใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหา และ (4) ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน ทำให้นักเรียนสามารถทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ได้จากหนังสือเรียน คือ นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
คำสำคัญ           สื่อสิ่งพิมพ์  หนังสือเรียน  รายวิชาพระพุทธศาสนา  นักเรียนประถมศึกษา
Independent Study title:              The Use of Textbooks as Printed Learning Media in the
                                             Buddhism Course for Students at Wat Chalerm Phra Kiat
                                             School in Nonthaburi Primary Education Sevice Area 1  
Author: Phramaha Sornphana  Lakham; ID:2532700511;
Degree: Mater of Education (Educational Technology and Communications);
Independent Study advisor: Dr. Wasana Taweekulasap, Associate Professor;
Academic year: 2012


Abstract

                  The purpose of this research was to study the use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course for students at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary Education Service Area 1.
                  The research population comprised 220 Prathom Suksa V – VI students studying in the first semester of the 2012 academic year at Wat Chalerm Phra Kiat School in Nonthaburi Primary Education Service Area 1. The employed research instrument was a questionnaire on opinions toward the use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course. Statistics employed for data analysis were the percentage, mean, and standard deviation.
                  Research findings showed that the overall use of textbooks as printed learning media in the Buddhism Course was at the high level.  When individual aspects of the use were considered, it was found to be at the high level in all aspects the details of which were as follows: (1) the use of textbook contents and concept mapping as the introductory technique helped the students to know the whole content they have to study; the textbook language was easy for the students to understand; activities for learning helped the student to adjust their knowledge background; the announcement page helped the students to know details on publication and technique; and the textbook paper was durable and convenient for the students to use; (2) the use of textbooks for learning in the classroom sessions helped the students to be interested in their learning and helped them to undertake their learning activities; after learning the students used textbooks for reviewing what they had recently learned; (3) in the use of textbooks for learning outside of the classroom, the students used them for learning more knowledge in addition to what they had learned in the classroom; they used them as the supplementary media in doing their homework and as reference sources for knowledge contents; and (4) the benefits of using textbooks were that the students could review their knowledge by themselves all the time; and the desirable characteristics they gained from using textbooks were that they were able to develop their critical thinking and to apply the obtained knowledge in solving their problems.






Keywords:        Printed learning media, Textbook, Buddhism Course,
                     Prathom Suksa student
กิตติกรรมประกาศ

              การศึกษาวิจัยค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก
รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  ทวีกุลทรัพย์ อาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม และให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ด้วยดีมาโดยตลอด จนกระทั่งเสร็จอย่างสมบูรณ์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งใจในความกรุณาของท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอเจริญพรขอบคุณอย่างสูงและขออนุโมทนา มา ณ โอกาสนี้
              ขอเจริญพรขอบคุณ รองศาสตราจารย์ นวลเสน่ห์ เชิดชูธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการประเมินผล รองศาสตราจารย์สาธิต  วิมลคุณารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษา และอาจารย์ ดร.ศันสนีย์  สังสรรค์อนันต์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา ที่เสียสละเวลาตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้คำแนะนำจนทำให้การวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และคณาจารย์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้และประสบการณ์ตลอดระยะเวลาการศึกษา
              ขอกราบขอบพระคุณ พระธรรมกิตติมุนี เจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี พระอธิการประหยัด สุจิณฺโน เจ้าอาวาสวัดบ้านติมรัตนาราม จังหวัดศรีสะเกษ พระเถรานุเถระ และเพื่อนสหธัมมิก ที่ได้เมตตาให้กำลังใจในการศึกษาด้วยดี
              ขอเจริญพร ขอบคุณท่านผู้อำนวยการสถานศึกษา คณาจารย์ โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ ที่ให้กำลังใจและให้คำปรึกษาด้วยดี และขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5-6 ปีการศึกษา 2555 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี  
              ขอแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณแด่ โยมพ่ออุดร โยมแม่สุเทียน ลาคำ และขอบใจ น้องๆ ทุกคนที่คอยห่วงใย ให้กำลังใจ และให้ความสนับสนุนด้วยดีจนสำเร็จการศึกษา
              ขอกราบขอบพระคุณ/เจริญพรขอบคุณ เพื่อนๆ นักศึกษาปริญญาโท แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านและเป็นกำลังใจด้วยดีเสมอมา จนสำเร็จการศึกษา
              สุดท้ายนี้ คุณค่าและประโชน์อันเกิดจากการวิจัยค้นคว้าอิสระฉบับนี้ ผู้วิจัยขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทุกผู้ ทุกตัวตน ขอให้ได้รับส่วนกุศลนี้ ได้อนุโมทนา และอโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย เทอญ
                                                                   พระมหาศรพนา  ลาคำ
                                                                   กรกฎาคม  2556


ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีดังนี้
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 220 คน มีนักเรียนที่ให้ข้อเสนอแนะทั้งหมด 123 คน คิดเป็นร้อยละ 55.90 และนักเรียนที่ไม่ให้ข้อเสนอแนะเป็นจำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1 จำแนกข้อเสนอแนะได้ดังนี้
5.1       ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมีความเห็นว่า เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียนไม่ยากเกินไป ทั้งด้านการจัดรูปเล่ม ขนาดของเล่ม การจัดตัวอักษร และมีสีสันที่สวยงาม จำนวน 53 คน
5.2       ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับการเรียนในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน นักเรียนมีความเห็นว่า นักเรียนใช้ประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียน และใช้เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม จำนวน 33 คน
5.3       ข้อแสนอแนะเกี่ยวกับประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมีความเห็นว่า นักเรียนได้มีความรู้ในเรื่องพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จำนวน 24 คน
5.4       ข้อเสนอแนะ ในด้านอื่นๆ นักเรียน มีความเห็นว่า อยากให้มีการสอนแบบนี้ไปนานๆ เพราะการเรียนรู้ธรรมช่วยให้เราไม่ทำความชั่ว จำนวน 13 คน
บทที่ 5
สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาเรื่องการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้

1.  สรุปผลการวิจัย
           
1.1       รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
1.2       วัตถุประสงค์การวิจัย
     1.2.1  วัตถุประสงค์ทั่วไป
            เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานนทบุรี เขต 1
     1.2.2  วัตถุประสงค์เฉพาะ
            1) เพื่อศึกษาการใช้เนื้อหาและเทคนิคของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
            2) เพื่อศึกษาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน  
            3) เพื่อศึกษาประโยชน์จากการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา
1.3       วิธีการดำเนินการวิจัย
     1.3.1  ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 220 คน
     1.3.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ มีขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม ดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดขอบข่ายเนื้อหาที่จะสอบถาม ขั้นที่ 2 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและตำราเกี่ยวกับงานวิจัยเพื่อสร้างแบบสอบถาม ขั้นที่ 3 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถาม ขั้นที่ 4 สร้างแบบสอบถาม ขั้นที่ 5 ตรวจสอบแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่ 7 ทดลองใช้แบบสอบถาม และ ขั้นที่ 8 จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์
     1.3.3  การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้จัดส่งและจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามด้วยตนเองประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 220 ฉบับ ทั้งหมดมีความสมบูรณ์ทุกฉบับคิดเป็น  ร้อยละ 100 โดยส่งแบบสอบถามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และได้รับคืนแบบสอบถามเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
     1.3.4  การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยรวมข้อมูลจากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1.4       สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
     1.4.1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 11 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
     1.4.2  ผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมาก คือ  
            1) การใช้ส่วนนำของหนังสือเรียน ด้านการใช้แผนผังแนวคิดช่วยให้นักเรียนทราบถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องศึกษา
            2) การใช้เนื้อหาสาระของหนังสือเรียน ด้านการใช้ภาษาที่ใช้ช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย
            3) การใช้กิจกรรมของหนังสือเรียน ด้านการใช้กิจกรรมนำสู่การเรียนช่วยให้นักเรียนปรับพื้นฐานความรู้ของนักเรียน
            4) การใช้ส่วนท้ายของหนังสือเรียน ด้านการใช้หน้าประกาศช่วยให้นักเรียนทราบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์
            5) การใช้เทคนิคของหนังสือเรียน ด้านการใช้กระดาษที่ใช้มีความคงทนต่อการหยิบใช้ของนักเรียน
     1.4.3  ผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมาก คือ
            1) การใช้หนังสือเรียนในชั่วโมงเรียน นักเรียนใช้ประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียนตามครูบอก
            2) การใช้หนังสือเรียนนอกชั่วโมงเรียน นักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้เสริมจากที่เรียนในห้อง
     1.4.4  ผลการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมาก คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ ได้ ประโยชน์ต่อการเรียนนักเรียนสามารถทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
           
2.  อภิปรายผล

จากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ผู้วิจัยนำประเด็นของการศึกษามาอภิปราย ตามความมุ่งหมายของการค้นคว้า ดังนี้
2.1       จากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในด้านการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียน พบว่า การใช้ภาษาช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก ภาษาที่ใช้ในหนังสือเรียนมีการเรียบเรียงภาษา เนื้อหา และความคิดเป็นไปลำดับตามความสำคัญจากหัวข้อใหญ่ไปหาหัวข้อย่อย มีการใช้สำนวนภาษาที่เหมาะกับวัยของนักเรียน ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถนำมาอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย สอดคล้องกับ ปรีชา ช้างขวัญยืน (2551 : 18) ที่กล่าวว่า ภาษาที่เรียบเรียงดีแล้ว มีการลำดับเนื้อหาและความคิดที่เป็นระเบียบ และการเขียนประโยคเชื่อมกันให้มีความสัมพันธ์แบบต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องราวเรียบเรียงความคิดซึ่งภาษาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
2.2       จากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในด้านการใช้หนังสือเรียนในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน พบว่า การใช้นอกชั่วโมงเรียนนักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้เสริมจากที่เรียนในห้อง อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก นักเรียนมีการเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ตนเองเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการทบทวนความรู้ที่เรียนมา เสริมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนจากในห้องเรียนและพัฒนาความรู้ให้มากขึ้น สอดคล้องกับ ชัยยงค์  พรหมวงค์ และคณะ (2525: 526) ได้กล่าวว่า การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาเป็นการใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์การสอน เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และประสบการณ์เป็นแหล่งที่ใช้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากครูสอนปกติ
2.3       จากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในด้านประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน พบว่า นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ ได้ อยู่ในระดับมากเนื่องจาก หนังสือเรียนมีเนื้อหาสาระที่เน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ คิดหาเหตุผล คิดวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นประโยชน์ในการนำไปพิจารณาเรื่องราวต่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองรวมถึงการพัฒนาความรู้ที่มีให้ก้าวหน้าขึ้นสอดคล้องกับ สุรัตน์ นุ่มนนท์ (2539: 43 อ้างถึงใน ศศิธร บัวทอง 2549:49) ที่กล่าวว่า สื่อสิ่งพิมพ์ช่วยให้นักเรียนมีความคิดวิจารณ์เนื้อหาและเรื่องราวต่าง ๆ จากการอ่านและก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มีความเชื่อมั่นในตนเอง
             
3.  ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาวิจัยความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 พบว่า ควรปรับปรุงการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้
3.1       ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปใช้
     3.1.1  การใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียน ในด้านแนวคิดสำคัญช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างคร่าวๆ นักเรียนเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าเห็นด้วยน้อยสุด จึงควรมีการแนะนำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของแนวคิดสำคัญ ด้วยการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของแนวคิดสำคัญ เพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจเนื้อหาล่วงหน้าอย่างคร่าวๆ และช่วยให้การเรียนดีขึ้น
     3.1.2  การใช้หนังสือเรียนในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน ในด้านการใช้สำหรับความรู้ทั่วไป นักเรียนใช้อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นักเรียนมีการใช้ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีการใช้น้อยสุด จึงควรมีการอบรมให้ความรู้ วิธีการ กระบวนการ และประโยชน์จากการนำสื่อสิ่งพิมพ์มาอ่านในเวลาว่างจากการเรียนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนรู้จักคุณค่าของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากขึ้น
     3.1.3  ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน ในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนสามารถใช้เป็นบทเรียนคติสอนใจ นักเรียนมีความเห็นด้วยระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าเห็นด้วยน้อยสุด จึงควรมีการสำรวจเนื้อหาสาระของสื่อสิ่งพิมพ์ว่า มีคติสอนใจ มากน้อยเพียงใด หากพบว่า มีน้อยเกินไป ก็ควรเพิ่มเติมให้พอเหมาะกับวัยของนักเรียน และควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจด้วยการเขียนคำอธิบายเสริมท้ายหน้า และการให้การอบรมเกี่ยวกับการนำคติสอนใจ จากเนื้อหาสาระมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดี
3.2       ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป
     3.2.1  ควรมีการวิจัยศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ส่วนนำของหนังสือเรียน เพราะการใช้ส่วนนำถึงจะอยู่ในระดับมากแต่เมื่อเทียบกับการใช้ด้านอื่นๆ ในการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนแล้วถือว่าน้อยที่สุด จึงควรมีการวิจัยศึกษาในประเด็นความสำคัญ วิธีการใช้ ขั้นตอนการใช้ และประโยชน์จากการใช้ส่วนนำของหนังสือเรียน
     3.2.2  ควรมีการวิจัยศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนนอกชั่วโมงเรียน เพราะการใช้นอกชั่วโมงเรียนถึงจะอยู่ในระดับมากแต่เมื่อเทียบกับการใช้ในชั่วโมงเรียนแล้วถือว่าน้อยที่สุด จึงควรมีการวิจัยศึกษาในประเด็น การใช้สำหรับความรู้ทั่วไป การใช้เป็นสื่อเสริมเพื่อการศึกษา และการใช้สำหรับการอ้างอิง ครอบคลุมความสำคัญ วิธีการใช้ ขั้นตอนการใช้ และประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนนอกชั่วโมงเรียน
ประวัติผู้ศึกษา


ชื่อ                       พระมหาศรพนา   ลาคำ
วัน เดือน ปี            14  มีนาคม  2523
สถานที่เกิด            อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ
ประวัติการศึกษา     ศึกษาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
                          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                          นักธรรมเอก เปรียญธรรม 3 ประโยค
สถานที่ทำงาน        โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเฉลิมพระเกียรติ
                          โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ
ตำแหน่ง                ครูสอนพระปริยัติธรรม ( แผนกธรรม )
                          ครูพระสอนศีลธรรม













บรรณานุกรม



บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544) เขาทำหนังสือกันอย่างไร กรุงเทพมหานคร คุรุสภาลาดพร้าว
              . (2545) การผลิต การเลือก และการใช้หนังสือเรียนเพื่อสนองการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร คุรุสภาลาดพร้าว
              . (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรุงเทพมหานคร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จงจรัส  แจ่มจันทร์ และคณะ (2551) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร อักษรเจริญทัศน์ อจท.
จุฑารัตน์  ปัญญา (2549) “ผลการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่เรียนโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์เสริมการอ่าน” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จุมพล  รอดดี (2530) ภาษาไทย กรุงเทพมหานคร บรรณกิจ
ชัยยงค์ พรหมวงค์ และคณะ (2523) เอกสารการสอนชุดวิชา 20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 11 กรุงเทพมหานคร ยูไนเต็ดโปรดักชั่น
ชาญสิทธิ์  ฤทธิกะสัส (2545) “ผลของเทคนิคการอธิบายกระบวนการด้วยภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ทิพย์เกสร  บุญอำไพ (2549) “สื่อมวลชน” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 8 พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ธนิต  ทองหล่อ (2550) “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่องศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” จาก http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=40952&page=28
นพคุณ  คุณาชีวะ (2531) การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียน พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นภาลัย  สุวรรณธาดา และคณะ (2553) การเขียนผลงานวิชาการและบทความ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร ภาพพิมพ์
บุญศิริ  ฤทธิ์บัณฑิต (2549) “การสร้างหนังสือภาพแบบปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมลูกเสือสามัญ เรื่อง “การผูกเงื่อน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประพิมพ์พันธ์  โชควัฒนกุล (2531) การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียน กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรีชา  ช้างขวัญยืน (2551) เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พจนานุกรม (2542) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง 2546) กรุงเทพมหานคร นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์
                  . (2552) ฉบับทันสมัยและสมบูรณ์ กรุงเทพมหานคร ฝ่ายวิชาการภาษาไทย ซีเอ็ดยูเคชั่น พิมพ์ดี
“การเขียนคำชี้แจง” ค้นคืนวันมรา 8 มิถุนายน 2555 จาก http://www.myfirstbrain.com/student _view.aspx?ID=47878
ยงยุทธ  รักษาศรี (2548) “การผลิตและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษานอกระบบ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 10 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
เยาวลักษณ์  อู่ทรงธรรม (2550) “ผลของการใช้แผนที่ความคิดต่อผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรุพีพิทยาคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบุณฑิต (หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม
โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (2553) แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญในท้องถิ่นโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง
ลัดดา  อินทร์พิมพ์ (2549) “องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกใช้หนังสือเรียน เพื่อการเรียนการสอนของครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วรรณธีรา  สุทธิชล (2546) “ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อหนังสือเรียนสารัตถะทักษะสัมพันธ์ เล่ม 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วรางคณางค์  สุขสมจินตน์ (2549) “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการรับเข้าศึกษาต่อปริญญาโทสิ่งแวดล้อม” ภาคนิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วาสนา ทวีกุลทรัพย์ (2552) “การออกแบบสื่อมวลชนเพื่อการสอน” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน หน่วยที่ 8 นนทุบรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
วิชัย พยัคฆโส (2542) “การพิมพ์ยุคโลกาภิวัฒน์” เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “การจัดเตรียมวางแผนเพื่อการพัฒนาสิ่งพิมพ์” ณ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิรัช  วรรณรัตน์ (2548) “แนวคิด  หลักการในการวัดและประเมินผลการศึกษา” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 1 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ (ม.ป.ป.) “สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา” ค้นคืนวันที่ 11 มิถุนายน 2556 จาก http://www.htc.ac.th/lib/naroo.htm   
วีระวรรณ  วรรณโท (ม.ป.ป.) “ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ” ค้นคืนวันที่ 20 ตุลาคม 2555 จาก http://www.bangkapi.ac.th/Media OnLine/weerawanWMD/unit2_part4.htm
สมพร  จารุนัฎ (2534) เอกสารพัฒนาหนังสือ อันดับ 1 การพัฒนาการเรียนการสอน กรุงเทพมหานคร การศาสนา
               (2547) “ก้าวใหม่เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ หนังสือเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” วารสารวิชาการ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 7(2)เมษายน- มิถุนายน
               (2549) “เรียนรู้วิธีเรียนจากหนังสือเรียน” วารสารวิชาการ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 9(1) มกราคม - มีนาคม
สุพัฒน์  ส่องแสงจันทร์ (2543) สื่อโสตทัสน์ห้องสมุด พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร สุวีริยาสาส์น
สุรสิทธิ์  วิทยารัฐ (2546) การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร ศูนย์หนังสือ
สวนสุนันทา
ไสว  ฟักขาว (2544) หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ กรุงเทพมหานคร เอมพันธ์



ศศิธร  บัวทอง (2549) “ผลของการใช้กิจกรรมกระบวนการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีต่อความตระหนักในปัญหาค่านิยมฟุ้งเฟ้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคมวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศุภชัย  หาญชัย (ม.ป.ป.) “ความสำคัญและประเภทของหนังสือเรียน” ค้นคืนวันที่ 20 ตุลาคม 2555 จาก http://www.gotoknow. org/blogs/posts/230054 
อภิศันย์  ศิริพันธ์ (ม.ป.ป.) “การเรียนรู้และตัวชี้วัด” ค้นคืนวันที่ 8 มิถุนายน 2555 จาก http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb /view.jsp?categoryID=CAT0000344 &forumID=frm0000084&screen=2#que0013705
อัมรา  เล็กเริงสินธุ์ (2540) หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
อุดม  เชยกวีวงศ์ (2545) หลักสูตรท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร บรรณกิจ
Buzan, J. (2003). Mind Maps for Kids. London : Thorson
John W. Best and James V. Kahn (1986). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Kantor, Robert N., et al. “How Incosiderate Are Children’s Textbook” Journal of Cueeiculum
Studies, Vol. 15, No. 1, 1983. pp. 61
Lafferty, Peter and Rowe, Julain.(1995) The Hutchison Dictionary of Science. 2 nd ed. Oxford Gerat Britain Helicon.

 












ภาคผนวก














ภาคผนวก  ก

ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือ






รายนามผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือ
ในการวิจัยครั้งนี้  มีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเครื่องมือ ดังนี้

1. รองศาสตราจารย์ นวลเสน่ห์   เชิดชูธรรม     ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดและประเมินผล
                                                          ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9
                                                          ศูนย์วิชาการประเมินผล
                                                          สำนักทะเบียนและวัดผล
                                                          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2.  รองศาสตราจารย์ สาธิต  วิมลคุณารักษ์       ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษา
                                                          ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9
                                                          สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
                                                          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3.  อาจารย์  ดร.ศันสนีย์  สังสรรค์อนันต์          ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา
                                                          ตำแหน่ง อาจารย์
                                                          สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
                                                          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

















ภาคผนวก ข

แบบประเมินคุณภาพของแบบสอบถาม


















ภาคผนวก ค

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย





คำชี้แจง
1.  แบบสอบถามนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนประกอบการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 คำตอบของนักเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความร่วมมือจากนักเรียนได้ตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และผลการตอบของนักเรียนจะไม่มีผลต่อการเรียนหรือคะแนนในการเรียนแต่ประการใด
2.  ให้นักเรียน ตอบแบบสอบถาม โดยทำเครื่องหมาย P ลงในช่องแสดงความคิดเห็นที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
3.  แบบสอบถามนี้มี  จำนวน  10  หน้า  แบ่งออกเป็น  5  ตอน  ดังนี้
             ตอนที่ 1     แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตอนที่ 2    เพื่อศึกษาการใช้เนื้อหาและเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน
             ตอนที่ 3    การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน  ตามความคิดเห็นของนักเรียน
             ตอนที่ 4     ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน
             ตอนที่  5    ข้อเสนอแนะ
4.     แบบสอบถามชุดนี้  แบ่งระดับความคิดเห็นตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
              หมายเลข   5     หมายถึง    ระดับความคิดเห็น     เห็นด้วยมากที่สุด
              หมายเลข   4     หมายถึง    ระดับความคิดเห็น     เห็นด้วยมาก
              หมายเลข   3     หมายถึง    ระดับความคิดเห็น     เห็นด้วยปานกลาง
              หมายเลข   2     หมายถึง    ระดับความคิดเห็น     เห็นด้วยน้อย
              หมายเลข   1     หมายถึง    ระดับความคิดเห็น     เห็นด้วยน้อยที่สุด
ตอนที่  1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

คำชี้แจง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  P ลงในช่อง  หน้าข้อความ ที่ตรงกับความเป็นจริง


          1.1 เพศ                        ชาย    
                                            หญิง

          1.2 อายุ                        10  ปี
                                            11  ปี
                                            12  ปี
                                            13  ปีขึ้นไป

          1.3 ระดับชั้นที่เรียน           ประถมศึกษาปีที่ 5      
                                             ประถมศึกษาปีที่ 6






ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาการใช้เนื้อหาและด้านเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน นักเรียนมีความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้เนื้อหาและด้านเทคนิคของหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด
คำชี้แจง   ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย P ลงในช่อง  หน้าข้อความ ที่ตรงกับความเป็นจริง

เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1. การใช้ส่วนนำของหนังสือเรียน
การใช้ปก
1.  การใช้ปกช่วยจูงใจให้นักเรียนอยากอ่านมากขึ้น





2.  การใช้ปกช่วยให้นักเรียนทราบรายละเอียด ต่างๆ เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้แต่ง  ปีที่พิมพ์ ฯ





การใช้คำนำ
3.  การใช้คำนำช่วยให้นักเรียนทราบถึงแรงบันดาลใจที่ผู้เขียนอยากให้ทราบ





4.  การใช้คำนำช่วยให้นักเรียนทราบวิธีใช้หนังสือ





การใช้คำชี้แจงในการใช้
5.  การใช้คำชี้แจงในการใช้ช่วยป้องกันนักเรียนเข้าใจผิดจากวัตถุประสงค์ของการใช้





6.  การใช้คำชี้แจงในการใช้ช่วยนักเรียนเข้าใจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น





การใช้แผนผังความคิด
7. การใช้แผนผังความคิดช่วยให้นักเรียนเห็นภาพความคิดที่หลากหลายมุมมอง 





8. การใช้แผนผังความคิดช่วยให้นักเรียนทราบถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องศึกษา





การใช้สารบัญ
9.  การใช้สารบัญช่วยให้นักเรียนมีความสะดวกในการค้นหาหัวข้อต่างๆ






10.การใช้สารบัญช่วยให้นักเรียนทราบว่าในหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างที่ต้องศึกษา






เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1

การใช้การเรียนรู้และตัวชี้วัด
11.            การใช้การเรียนรู้และตัวชี้วัดช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินผลมากขึ้น





12.            การใช้การเรียนรู้และตัวชี้วัดช่วยให้นักเรียนเข้าใจในเกณฑ์การประเมินผลมากขึ้น





การใช้เป้าหมายการเรียนรู้
13.            การใช้เป้าหมายการเรียนรู้ช่วยระบุพฤติกรรมของนักเรียนที่ได้จากการอ่านได้ชัดเจน





14.            การใช้เป้าหมายการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนทราบถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ชัดเจน





การใช้แนวคิดสำคัญ
1.5การใช้แนวคิดสำคัญช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ





1.6 การใช้แนวคิดสำคัญช่วยให้นักเรียนเห็นกรอบในการศึกษาของเนื้อหาที่กำหนดไว้ได้ชัดเจน





2.  การใช้เนื้อหาของหนังสือเรียน

การใช้การวางโครงเรื่อง
1   การใช้การวางโครงเรื่องช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ ได้ง่าย





2   การใช้การวางโครงเรื่องช่วยให้นักเรียนจำแนกหัวข้อให้เป็นหมวดหมู่สามารถจดจำได้นาน






การใช้เนื้อหา
3   การใช้เนื้อหาช่วยให้นักเรียนมีความรู้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้





4   การใช้เนื้อหาช่วยให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนตรงกัน





5   การใช้เนื้อหาช่วยให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่ศึกษามากขึ้น





6    การใช้เนื้อหาที่มีความชัดเจนช่วยให้นักเรียนศึกษาได้สะดวก





7     การใช้เนื้อหาที่มีการเรียบเรียงที่ดีช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย






การใช้ภาษา
8   การใช้ภาษาช่วยให้นักเรียนอ่านแล้วเข้าใจง่าย





9   การใช้ภาษามีความเหมาะสมกับเนื้อหา





10               การใช้ภาษามีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน





เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1

การใช้ตัวอักษร
11  การใช้ตัวอักษรที่มีขนาดโตพอเหมาะช่วยให้นักเรียนอ่านสบายตา





12  การใช้สีของตัวอักษรช่วยให้นักเรียนมีความรู้สึกอยากอ่านมากขึ้น





13  การใช้สีของตัวอักษรกับพื้นหลังช่วยให้นักเรียนอ่านสบายตา





การใช้รูปแบบภาพประกอบ





14  การใช้ภาพประกอบที่ใช้ช่วยดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี





15  การใช้ภาพประกอบที่ใช้ช่วยอธิบายเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น





16  การใช้ภาพประกอบที่ใช้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่มองไม่เห็นให้กระจ่างชัดได้





17 การใช้สีของภาพประกอบกับตัวอักษรที่ใช้ช่วยให้อ่านสบายตา





18 การใช้สีของภาพประกอบที่ใช้ช่วยให้นักเรียนมีความสนใจกับการอ่านมากขึ้น





3. การใช้กิจกรรมในหนังสือเรียน

การใช้กิจกรรมนำสู่การเรียน
1   การใช้กิจกรรมนำสู่การเรียนช่วยให้นักเรียนปรับพื้นฐานความรู้ของนักเรียน





2   การใช้กิจกรรมนำสู่การเรียนช่วยวัดความรู้ของนักเรียนก่อนเรียน





การใช้กิจกรรมระหว่างเรียน
3   การใช้กิจกรรมระหว่างเรียนช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจในสิ่งที่ศึกษามากขึ้น





4   การใช้กิจกรรมระหว่างเรียนช่วยให้นักเรียนได้วัดความสามารถของตนระหว่างเรียน






การใช้กิจกรรมรวบยอด
5   การใช้กิจกรรมรวบยอดช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาในบทนั้นๆ





6    การใช้กิจกรรมรวบยอดช่วยสรุปเนื้อหาในบทนั้นทำให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น 






เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
4.  การใช้ส่วนท้ายของหนังสือเรียน

การใช้การอ้างอิง
1    การใช้การอ้างอิงช่วยให้นักเรียนใช้เป็นแหล่งศึกษาเพิ่มเติม





2    การใช้การอ้างอิงช่วยให้นักเรียนเพิ่มพูนทักษะในการค้นคว้าเพิ่มเติม





การใช้คำสำคัญ
3    การใช้คำสำคัญช่วยให้นักเรียนเข้าใจศัพท์ที่ยากตรงกับความหมายในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียน





4    การใช้คำสำคัญช่วยให้นักเรียนเข้าใจความหมายตรงตามจุดประสงค์





การใช้หน้าประกาศ
5    การใช้หน้าประกาศช่วยเสริมให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้หนังสือมากขึ้น





6    การใช้หน้าประกาศช่วยให้นักเรียนทราบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์





5.  การใช้เทคนิคของหนังสือเรียน

การใช้รูปเล่ม
1.  การใช้รูปเล่มมีการจัดสวยงามช่วยจูงใจในการอ่าน





2.  การใช้รูปเล่มมีขนาดที่พอเหมาะช่วยให้นักเรียนหยิบจับได้ง่าย





การใช้การออกแบบ
3.  การใช้การออกแบบมีความเหมาะสม ช่วยเน้นความสนใจของนักเรียนได้ดี





5.  การใช้การออกแบบมีความเป็นเรียบง่ายช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้สึกต่อเนื่องในการอ่าน






การใช้กระดาษ
4.  การใช้กระดาษมีความคงทนถาวรต่อการหยิบใช้ของนักเรียน   





5.  การใช้กระดาษมีน้ำหนักพอดีสะดวกในการหยิบถือของนักเรียน





6.  การใช้กระดาษช่วยถนอมสายตาของนักเรียนในการอ่าน









ตอนที่ 3        การใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน นักเรียนมีความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ในชั่วโมงเรียนและนอกชั่วโมงเรียน มากน้อยเพียงใด
คำชี้แจง   ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย P ลงในช่อง  หน้าข้อความ ที่ตรงกับความเป็นจริง

เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1.  การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนในชั่วโมงเรียน

การใช้สำหรับการเรียนโดยตรง
1.  นักเรียนใช้ประกอบการเรียนในชั่วโมงเรียนตามครูบอก





2.  นักเรียนใช้ประกอบการแนะนำเพื่อนเมื่อเพื่อนไม่เข้าใจ





3.  นักเรียนใช้ประกอบการทำกิจกรรมระหว่างเรียน





4.  นักเรียนใช้ประกอบการตอบคำถามเมื่อครูถาม





การใช้นำเข้าสู่บทเรียน
5.  การใช้นำเข้าสู่บทเรียนช่วยให้นักเรียนเข้าใจปัญหาที่จะเรียน





6.   การใช้นำเข้าสู่บทเรียนช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิม





7. การใช้นำเข้าสู่บทเรียนช่วยเสริมสร้างให้นักเรียนมีความสนใจใคร่รู้มากขึ้น





การใช้ระหว่างเรียน
8.  การใช้ระหว่างเรียนนักเรียนใช้ประกอบการปรึกษาหารือกับเพื่อนเกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษา





9.  การใช้ระหว่างเรียนนักเรียนใช้ประกอบการซักถามปัญหาที่สงสัยเมื่อครูเปิดโอกาสให้ถาม





10.             การใช้ระหว่างเรียนนักเรียนใช้ประกอบการทำกิจกรรมระหว่างเรียน





การใช้หลังเรียน
11.            การใช้หลังเรียนนักเรียนใช้ประกอบการซักถามในส่วนที่ไม่เข้าใจ





12.            การใช้หลังเรียนนักเรียนใช้อ่านทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา





13.            การใช้หลังเรียนนักเรียนใช้ประกอบการทำกิจกรรมหลังเรียน






เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
2.  การใช้หนังสือเรียนสำหรับการเรียนนอกชั่วโมงเรียน

การใช้สำหรับความรู้ทั่วไป
1.  นักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้เสริมจากที่เรียนในห้อง





2.  นักเรียนใช้ศึกษาเพื่อเพิ่มสติปัญญาให้แก่ตนเอง





3.  นักเรียนใช้อ่านเพื่อใช้เวลาให้มีประโยชน์





การใช้เป็นสื่อเสริมเพื่อการศึกษา
4.  นักเรียนใช้เป็นสื่อเสริมเวลาทำการบ้าน





5.  นักเรียนใช้เป็นสื่อเสริมในการทำงานกลุ่ม





6.   นักเรียนใช้เป็นสื่อเสริมในการให้คำแนะนำเพื่อน





การใช้สำหรับการค้นคว้าอ้างอิง
7. นักเรียนใช้อ้างอิงเวลาทำงานส่ง





8.  นักเรียน ใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหา





9.  นักเรียนใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่








ตอนที่ 4 ประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดเห็นของนักเรียน นักเรียนมีความคิดเห็น เกี่ยวกับประโยชน์จากการใช้หนังสือเรียน มากน้อยเพียงใด
คำชี้แจง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย P ลงในช่อง  หน้าข้อความ ที่ตรงกับความเป็นจริง
เรื่องที่
ประเด็นคำถาม
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1

ประโยชน์ต่อการเรียน
1.  นักเรียนสามารถนำไปใช้ศึกษาได้ด้วยตนเอง 





2.  นักเรียนสามารถทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา





คุณลักษณะที่พึงประสงค์
3.  นักเรียนสามารถใช้เพื่อเพิ่มพูนความสามารถของตนเอง





4.  นักเรียนสามารถคิดวิจารณ์เรื่องราวต่างๆ ได้





5.  นักเรียนใช้เป็นบทเรียนคติสอนใจ





การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
6.  นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้





7. นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้






ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะที่มีต่อการใช้หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามความคิดของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
ข้อเสนอแนะ

                                                                                                             
                                                                                                             
                                                                                                             
                                                                                                             
                                                                                                             
                                                                                                             

ขออนุโมทนา / ขอบใจนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี

เจริญพร

พระมหาศรพนา   ลาคำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น